อย่าปล่อยให้องค์กรเสียโอกาส เพราะ recruitment process ไม่มีประสิทธิภาพ

recruitment process

Recruitment Process ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลเสียกว่าที่คุณคิด องค์กรที่ต้องการก้าวไปข้างหน้า จำเป็นต้องมี ” คน ” ที่ใช่ เข้ามาขับเคลื่อนกลยุทธ์และเติมเต็มเป้าหมาย แต่หาก ” กระบวนการสรรหา ” ไร้ประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนการปิดกั้นโอกาสทอง ปล่อยให้คู่แข่งคว้าตัวผู้มีความสามารถไป และเสียเปรียบในสนามธุรกิจนี้ได้ แล้วผลกระทบ ของกระบวนการสรรหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ อุปสรรคที่องค์กรต้องเผชิญ และแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการสรรหา คืออะไร

Recruitment Process ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร ?

  1. ชัดเจนและโปร่งใส : กระบวนการสรรหาควรมีความชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยมีขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนและสื่อสารไปยังผู้สมัครเพื่อให้เข้าใจว่าต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง
  2. มีมาตรฐานในการคัดเลือก : การกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานที่ชัดเจนในการคัดเลือกผู้สมัคร ช่วยให้กระบวนการคัดเลือกมีประสิทธิภาพและเลือกได้บุคลากรที่เหมาะสมที่สุด
  3. รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ : กระบวนการควรเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการได้บุคลากรที่มีคุณภาพ และ ไม่ให้ผู้สมัครรอนานจนเกินไป
  4. การใช้เทคโนโลยี : การใช้เทคโนโลยีในการช่วยกระบวนการสรรหา เช่น ระบบการจัดการสมัครงานอัตโนมัติ ระบบการคัดกรองผู้สมัคร ช่วยให้กระบวนการเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. การสื่อสารที่ดี : การรักษาการติดต่อสื่อสารกับผู้สมัครตลอดทั้งกระบวนการ เพื่อให้ผู้สมัครได้รับข้อมูลความคืบหน้าและรับฟังข้อเสนอแนะหรือคำถาม สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้สมัคร

ข้อผิดพลาด ที่พบบ่อยของ Recruitment Process  :

หาคนเท่าไหร่ ก็หาไม่ได้ อยากได้คนเก่ง คู่แข่งก็แย่งไปหมด ปัญหาที่เกิดขึ้น ลองวิเคราะห์ให้ดี ว่าเกิดจากข้อผิดพลาดของกระบวนการสรรหาพนักงานเหล่านี้หรือไม่

1.      ไม่มีความชัดเจนในตำแหน่งงาน :

การไม่มีคำอธิบายตำแหน่งงานที่ชัดเจน ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือมีความคาดหวังที่ไม่แน่นอน สูงเกินไป สามารถนำไปสู่การสรรหาบุคคลที่ไม่เหมาะสมได้ บอกไม่ชัดว่า ต้องการคนแบบไหน ตั้งความคาดหวัง สูงเกินจริง

2.      กระบวนการคัดเลือกที่ไม่มีประสิทธิภาพ :

การไม่ใช้เครื่องมือหรือเทคนิคที่เหมาะสมในการคัดเลือก มองข้ามศักยภาพ ทักษะอื่นๆที่มี อาจทำให้พลาดโอกาสในการจ้างบุคคลที่มีความสามารถ

3.      ยึดติด อดีต มองข้าม อนาคต :

การให้ความสำคัญกับประสบการณ์การทำงานมากเกินไปและไม่พิจารณาถึงศักยภาพหรือทักษะอื่นๆ อาจทำให้เสียบุคคลที่มีศักยภาพ ที่อาจจำเป็นในอนาคตได้

4.      ไม่มีการวิเคราะห์ตลาดแรงงาน :

การไม่ทราบถึงสถานการณ์ตลาดแรงงานปัจจุบันอาจทำให้เสนอเงินเดือนหรือสวัสดิการที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานตลาด รวมถึงการเสนอสิ่งตอบแทน สวัสดิการ อื่นๆ ไม่ดึงดูด

5.      ไม่มีการตรวจสอบอ้างอิงหรือประวัติ :

การไม่ตรวจสอบอ้างอิงหรือประวัติของผู้สมัคร ทำให้ได้รับบุคคลที่ไม่ตรงตามคุณสมบัติ หรืออาจเกิดข้อผิดพลาดตามมา ส่งผลต่อความเสียหายและความเสี่ยงหลายประการ

Recruitment Process ที่ผิดพลาดทำให้องค์กร เสียโอกาสเรื่องอะไรบ้าง ?

  1. เสียโอกาสในการจ้างบุคลากรที่มีคุณภาพ : ในยุคที่คนเก่งเป็นหัวใจสำคัญ องค์กรที่ “สรรหาช้า” หรือ “กระบวนการยุ่งยาก” ย่อมสูญเสียโอกาสคว้าตัวบุคลากรที่มีคุณภาพ ไปอย่างน่าเสียดาย
  2. เพิ่มต้นทุนการสรรหา : กระบวนการสรรหาที่ยืดเยื้อ หมายถึง “ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น” ทั้งค่าโฆษณา ค่าสัมภาษณ์ ในตำแหน่งงานนั้นอย่างซ้ำๆ
  3. ลดประสิทธิภาพการทำงาน : การไม่สามารถจ้างบุคลากรที่เหมาะสมอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของทีมหรือองค์กรลดลง เนื่องจากบุคลากรที่ไม่มีความสามารถหรือไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง เสียความสามารถในการแข่งขันในตลาด ไม่สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดีที่สุดได้
  4. ผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร : กระบวนการสรรหาที่ยาวนานและไม่มีประสิทธิภาพอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ขององค์กรในสายตาของผู้สมัครและสาธารณชน
  5. พนักงานลาออก วนเวียน หาคนใหม่ไม่ทัน : หากกระบวนการสรรหาไม่สามารถจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมและมีความสุขในการทำงาน อาจนำไปสู่อัตราการหมุนเวียนของพนักงานที่สูง

วิธีการปรับปรุง กระบวนการสรรหาให้มีประสิทธิภาพ

  1. ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยกระบวนการ : การใช้เทคโนโลยีสำหรับการติดตาม หรือระบบการจัดการการสรรหา สามารถช่วยให้กระบวนการสรรหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และ “ประหยัดเวลา”
  2. คำอธิบายงานคือ “หัวใจ” : ให้ข้อมูลที่ครอบคลุมและน่าสนใจเกี่ยวกับตำแหน่งงาน เพื่อดึงดูดบุคคลที่มีคุณภาพและเหมาะสม เขียนคำอธิบายงานให้ชัดเจน ครบถ้วน น่าสนใจ อย่าลืมบอกถึง หน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณสมบัติ และ ทักษะ ที่ต้องการ
  3. รวดเร็ว ฉับไว ไม่ปล่อยให้ “คนเก่ง” หลุดมือ : ใช้กระบวนการสรรหาที่ รวดเร็วและฉับไว จะช่วยดึงดูดคนเก่งให้ตัดสินใจมาร่วมงานกับคุณ ไม่ให้เสียโอกาสในการจ้างบุคคลที่มีคุณภาพ
  4. มีการติดต่อสื่อสารที่ดีกับผู้สมัคร : การติดต่อสื่อสารกับผู้สมัครอย่างสม่ำเสมอ แจ้งผล ตอบคำถาม แสดงให้เห็นว่า คุณให้ความสำคัญ รักษาการติดต่อสื่อสารที่ดีกับผู้สมัครตลอดกระบวนการสรรหา เพื่อสร้างความมั่นใจและความภักดีต่อองค์กรคุณ
  5. ประเมินผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง : ทบทวนและประเมินผลกระบวนการสรรหาเป็นประจำ เพื่อหาจุดอ่อนและปรับปรุงกระบวนการให้ดียิ่งขึ้น

การมีกระบวนการสรรหาที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรของคุณไม่เพียงแต่เสียโอกาสในการได้บุคคลที่มีคุณภาพเข้าร่วมทีม แต่ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างความมั่นใจให้กับผู้สมัครว่าองค์กรของคุณเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา อย่าปล่อยให้ “กระบวนการสรรหา” กลายเป็น “อุปสรรค” ขัดขวางความสำเร็จขององค์กร อย่าลืม!  “การสรรหาพนักงาน”  เป็น “การลงทุน”  ที่สำคัญ