Dip Chip กับ NDID ต่างกันอย่างไร ทำไมถึงต้องมีการยืนยันตัวตนผ่านออนไลน์

so people Dip Chip กับ NDID ต่างกันอย่างไร

 

เดี๋ยวนี้การทำธุรกรรมออนไลน์เป็นเรื่องปกติมาก แต่การทำธุรกรรมทางการเงินก็ต้องมีการพิสูจน์หรือยืนยันตัวตน เพื่อเป็นการยืนยันว่าคือผู้ใช้บริการจริง และป้องกันการแอบอ้างตัวตนของคนทำธุรกรรม ซึ่งการยืนยันตัวตนที่ว่ามีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ Dip Chip และ NDID ถึงจะยืนยันตัวตนเหมือนกัน แต่วิธีการต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไร SO PEOPLE จะเล่าให้ฟัง 

          Dip Chip คือการยืนยันตัวตนด้วย “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงเครื่องอ่านบัตร หรือเครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนได้ ต้องใช้เอกสารมายืนยันตัวตน เช่น บัตรประชาชนหรือใบขับขี่ เป็นขั้นตอนหนึ่งของการทำ KYC หรือ Know Your Customer ที่พูดถึงไปในบทความ KYC กับ e-KYC คืออะไร ฉีกกฎการยืนยันตัวตนแบบเดิมด้วย Delivery เป็นการเก็บข้อมูลลูกค้าตามข้อกำหนดของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อเพิ่มความแม่นยำและทำให้ข้อมูลของลูกค้าปลอดภัย และมีความแม่นยำมากขึ้น 

         ส่วน NDID อ่านว่า N-D-I-D (เอ็นดีไอดี) หรือบางคนเรียกว่า เอ็นดิด เป็นการยืนยันตัวตนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถทำได้ผ่าน “แอปพลิเคชั่น” ไม่เหมือนกับการทำ Dip Chip ที่จะต้องมีเอกสารระบุตัวตนชัดเจน มีแค่โทรศัพท์มือถือที่โหลดแอปพลิเคชั่น เท่านี้ก็ทำ NDID ได้แล้ว 

พอมาเปรียบเทียบอย่างนี้ การทำ Dip Chip เหมือนจะยากต้องเสียเวลาไปนู่นไปนี่เพื่อยืนยันตัวตน แต่ถ้าการ Dip Chip ทำได้แบบ Delivery ล่ะจะเป็นอย่างไร? 

ที่ SO เรามีบริการทำ KYC Delivery โดยใช้วิธีการ Dip Chip   ข้อมูลจากอุปกรณ์ เพื่อรวบรวมข้อมูลยืนยันตัวตนของลูกค้าส่งต่อให้บริษัท เป็นผู้ช่วยให้บริษัทได้ข้อมูลลูกค้าที่แม่นยำและปลอดภัยขึ้น โดยบริษัทไม่ต้องทำเอง 

ทีมไรเดอร์ของเรา มีหน้าที่ทำ KYC ด้วยการ Dip Chip ข้อมูลผ่านระบบ ช่วยให้  สะดวกกว่า ง่ายกว่าการทำ Dip Chip แบบเดิมที่ต้องไปยืนยันตัวตนตามสถานที่ที่ผู้ให้บริการกำหนด และยังสามารถกำหนดวัน เวลาและสถานที่สะดวกทำการยืนยันตัวตนอีกด้วย 

นอกจากการ Dip Chip โดยไรเดอร์แล้ว ยังมีทีมแอดมิน ที่คอยประสานงานและติดตามจุดที่ไรเดอร์กับลูกค้านัดหมายไว้ พร้อมเช็คความเรียบร้อย และจัดทำรายงานประจำสัปดาห์ 

ส่วนทีมโปรแกรมเมอร์ ก็เป็นส่วนที่อยู่เบื้องหลังการทำ Dip Chip ทั้งหมด ทั้งจัดเตรียมระบบสำหรับไรเดอร์และแอดมิน ยังต้องรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า เพื่อให้การทำธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ โดยที่องค์กรสามารถนำข้อมูลไปใช้งานต่อได้เลย 

 

สนใจบริการ KYC Delivery ติดต่อได้ที่ 

โทรศัพท์ : 061-406-6969   

Line : @sopeople